• ประวัติเหลาจื้อโดยย่อ

    日期:2013.02.10 | 分類:談天說道 | 標籤: ,

    [show_avatar [email protected] align=right avatar_size=90]เหลาจื้อ (เล่าจื้อ) แซ่หลี่ชื่อตัวว่าเอ่อร์ ฉายาเปอะหยาง หรือตัน (เหลาตัน) เป็นคนอำเภอขู่รัฐฉู่ (ปัจจุบันคือเมืองลู่อี้ในมณฑลเหอ หนาน) เกิดในช่วงหลังยุคชุนชิว (ประมาณก่อนคริตศักราชปี 571) ท่านเคยรับราชการเป็นบรรณารักษ์ ที่หอสมุดหลวงของราชวงศ์โจว เหลาจื้อมีอายุมากกว่าขงจื้อประมาณ 20 ปี ในเวลานั้นขงจื้อเคยเรียนถามพิธีกรรมกับเหลาจื้อในสมัยราชวงศ์โจว เมื่อกลับมายังประเทศหลู่ได้ยกย่องเหลาจื้อกับนักเรียนว่า “ท่านเหลาจื้อที่เราพบนั้นดุจเทพเจ้ามังกรเห็นหัวไม่เห็นหาง ความรู้ของท่านนั้นลึกล้ำยากที่หยั่งวัดได้ นับเป็นครูของเราอีกท่านหนึ่ง”

    เมื่อราชวงศ์โจวถึงยุคเสื่อมโทรม เหลาจื้อลาออกจากราชการมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกผ่านด่าน”หานกู่”เข้าสู่ประเทศฉีน นายด่านชื่ออินซี่ขอร้องให้หยุดพักที่ด่านเพื่อเขียนหนังสือปรัญชาแห่งชีวิต ท่านจึงได้เขียนหนังสือชื่อว่า “เหลาจื้อ” ขึ้นมา 1 เล่มมีอักษรทั้งหมด 5,000 คำ ต่อมาเรียกว่าคัมภีร์“เต้าเตอะ” หลังจากนั้นไม่มีใครทราบบั้นปลายของชีวิตท่านเลย เหลาจื้อคือนักคิดและนัก ปรัญชาที่ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของจีน เป็นต้นกำเหนิดของปรัญชาเต๋า ต่อมาถูกยกย่องให้เป็นต้นตระกูลแซ่ลี้ของฮ่องเต้ในสมัยราชวงศ์ถัง แล้วถูกฮ่องเต้ราชวงศ์ถังแต่งตั้งให้เป็นเทพแห่งเทพเจ้า (ไท่ซ่างเหลาจวิน) เป็นหนึ่งในร้อยของผู้มีชื่อเสียงด้านวัฒนธรรมในประวัติศาสตร์โลก ผลงานที่เป็นแก่นสำคัญมากที่สุดคือเหตุความเรียบง่าย สนับสนุนปกครองโดยไม่ปกครอง ซึ่งหลักคำสอนดังกล่าวเป็นรากฐานต่อการพัฒนาปรัชญาอันลึกซึ้งของจีนมาอย่างยาวนาน จึงถูกยกย่องให้เป็นศาสดาแห่งศาสนาเต๋า

    เหลาจื้อใช้คำว่า “เต๋า” อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลง(พัฒนาการ)ของสรรพสิ่งในจักรวาล มีแนวคิดว่า”เต๋ากำเหนิดหนึ่ง หนึ่งกำเหนิดสอง สองกำเหนิดสามและสามกำเหนิดสรรพสิ่ง” เต๋าก็คือ”ชีวิตแห่งวิถีธรรมชาติ” เพราะ ”คนเคารพกฏของดิน ดินเคารพกฏของฟ้า ฟ้าเคารพกฏของเต๋าและเต๋าเคารพกฏของธรรมชาติ” “เต๋าเป็นการมองกฎแห่งธรรมชาติอย่างเป็นกลาง มีความเป็นอิสระ มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงและการปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอโดยไม่ย่อท้อ” คือความหมายอันเป็นนิรันดร์